บริการตรวจเช็ค ดูแลรถยนต์เป็นอย่างดีโดยช่างมืออาชีพ
ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย รับประกันคุณภาพสินค้าและบริการ
เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของรถและความปลอดภัยในการขับขี่
ซ่อมบำรุง
SERVICE
บริการซ่อมบำรุงของเรา
โช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS)
โช้คอัพ มีหน้าที่โดยพื้นฐานคือ เป็นตัวควบคุมการยุบตัวและการยืดตัวของสปริง (COIL SPRING) แหนบ (LEAF SPRING) และสปริงแบบแท่ง (TORTION BAR)
โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดแรงกระแทก ที่เกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ
ซึ่งโดยมีหน้าที่พื้นฐานคือ เป็นอุปกรณ์ที่คอยควบคุม การทำงานของสปริงหรือแหนบ โดยเมื่อรถยนต์ได้รับแรงกระแทก เนื่องจากสภาพถนน
โช้คอัพจะเป็นตัวหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นและลงของตัวรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ได้รับแรงสะเทือนน้อยที่สุด และควบคุมล้อรถให้สัมผัสกับพื้นผิวของถนนขณะรถวิ่ง
โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบช่วงล่าง คือ เป็นตัวรองรับแรงกระแทก และควบคุมการยึดเกาะถนนของตัวรถยนต์
โช้คอัพ และสปริงต้องทำงานร่วมกัน โดยเมื่อมีแรงกดมายังช่วงล่างสปริงจะทำการยุบตัว และค่อย ๆ ดีดตัวขึ้น ตรงส่วนนี้เอง
โช้คอัพจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดแรงดีดตัวของสปริง ทำให้แรงดีดตัวของสปริงมีความหนืดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกนุ่มขึ้นของช่วงล่าง
คู่หน้า
คู่หลัง
เบรก (BRAKE)
เบรก ทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุดตามความต้องการของผู้ขับรถ
รถส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบที่แป้นเบรกไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic)
กล่าวคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรกลงที่แป้นเบรก แรงเหยียบนี้จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรก (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรก ออกไปตามท่อน้ำมันเบรก ผ่านวาล์วแยก
ส่วนน้ำมันเบรก ไปจนถึงตัวเบรก ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรกก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรก เมื่อได้รับแรงดันมา
ลูกปั้มน้ำมันเบรกจะดันให้ผ้าเบรกไปเสียดทานกับชุดจานเบรกที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรก หรือ ดรัมเบรก เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง
เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรกเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรกเพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชะลอความเร็วลงจนรถหยุดในที่สุด
ดรัมเบรก (Drum Brake)
การทำงานของระบบดรัม อาศัยหลักการของแรง “ผลัก” เพื่อสร้างแรงเฉี่อยให้กับล้อ ดรัมที่ยึดติดอยู่กับล้อ จะมีส่วนประกอบต่างๆ ฝักเบรก ที่ประกอบด้วยผ้าเบรก สปริง และลูกสูบ โดยที่ถูกต่อเข้ากับสายเบรก เมื่อมีการกดแป้นกลไก น้ำมันเบรกจะถูกแรงผลักลูกสูบไปดันฝักเบรกออกเสียดสีกับขอบดรัมที่หมุนไปพร้อมล้อ เพื่อสร้างแรงเฉี่อยให้กับรถ
ดิสก์เบรก (Disc Brake)
การทำงานของระบบดิส จะเน้นไปที่การ “บีบ” ไปที่จานเบรกที่ยึดติดกับล้อ บีบโดยลูกสูบเบรก หรือคาลิเปอร์ครอบเข้าไปที่จานเบรกฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยส่วนของคาลิเปอร์จะไม่หมุนไปตามล้อแต่จะถูกเชื่อมต่อสายเบรกเข้าไปที่ลูกสูบ เมื่อมีการใช้งานลูกสูบจะดันผ้าเบรกภายในให้ “บีบ” กับจานเบรกทำให้เกิดแรงเสียดทานนั่นเอง
แบตเตอรี่รถยนต์
แบตเตอรี่รถยนต์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าในรถยนต์เป็นเซลล์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปจะสามารถทำการอัดไฟใหม่ได้ภายหลังเมื่อใช้ไฟไปหมดแล้ว แบตเตอรี่เป็นส่วนแหล่งเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า
มันเก็บสะสมไฟฟ้าไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็น แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าในตัวเอง
แต่จะเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ในรูปพลังงานเคมี เมื่อต่อสายนำไปใช้พลังงานเคมีก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่ให้พลังงานไฟฟ้า และใช้ในการสตาร์ทรถยนต์เป็นหลัก
มีอายุการใช้งานและเสื่อมสภาพได้ตามระยะเวลาและการใช้งานเช่นกัน
แบตเตอรี่รถยนต์แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. แบบน้ำหรือชนิดเติมน้ำกลั่น
แบตเตอรี่ชนิดน้ำนี่เป็นแบบกรดตะกั่ว
มีการใช้งานกันมานานและต้องดูแลกันเป็นประจำ
จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบตรวจสอบและเช็คสภาพอยู่เสมอ
เพราะน้ำกลั่นอาจจะหมดช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการใช้งาน
แบตเตอรี่แบบน้ำนี้จึงต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
2. แบบชนิดกึ่งแห้ง
แบตเตอรี่ชนิดกึ่งแห้ง ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา
แบตเตอรี่ชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีการสูญเสียน้ำน้อยมาก
รถที่มีการใช้งานไม่มากหรือวิ่งน้อยแถบจะไม่ต้องเติมน้ำกลั่น
แบตเตอรี่ชนิดกึ่งแห้งนี้เหมาะกับรถที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน
และเหมาะกับคนที่ไม่ชอบหรือไม่มีเวลาตรวจน้ำในแบตเตอรี่
3. แบบชนิดแห้ง
แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดนี้เริ่มมีการใช้งานกันมากขึ้น
เพราะสะดวกและไม่ต้องเสียเวลาตรวจตราบ่อยๆ
แบตเตอรี่ชนิดนี้ยังต้องใส่น้ำใว้ในแบตเตอรี่อยู่
แต่การใช้งานนั้นดีกว่าชนิดอื่นๆ เพราะไม่ต้องดูแลรักษา
ใช้งานอย่างเดียวก็ว่าได้เหมาะกับทุกคนและรถทุกรุ่น